ผู้ปกครองกว่า 3 ล้านรายทั่วโลกไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ MiYOSMART แล้วคุณล่ะ

หลักฐานที่คุณเชื่อถือได้

เด็กชายและเด็กหญิงกำลังเล่นอยู่ข้างนอกโดยสวมแว่นกันแดด HOYA MiYOSMART

การศึกษาทางคลินิกคือรากฐานของการรักษาตามหลักฐานเชิงประจักษ์

 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อ:

  • ประเมินประสิทธิผลของการรักษา
  • ประเมินความปลอดภัยของการรักษา
  • ให้คำตอบในประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรักษาต่างๆ

ข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณและผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาร่วมกันประเมินว่าการรักษาประเภทใดเหมาะสมกับบุตรหลานของคุณ

เราได้ดำเนินการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 90 โครงการทั่วโลกซึ่งนำเสนอหลักฐานยืนยันคุณภาพสูง ช่วยให้คุณมีความมั่นใจยิ่งขึ้นในการเลือกใช้เลนส์แว่นตา MiYOSMART เพื่อเป็นวิธีการรักษาภาวะสายตาสั้นสำหรับบุตรหลานของคุณ

HOYA MiYOSMART กราฟฟิกพร้อมลูกโลกและแว่นตา

เลนส์แว่นตาที่ใช้งานได้จริง

  • การศึกษาทางคลินิก 2 ปีในฮ่องกงแสดงให้เห็นว่าการลุกลามของภาวะสายตาสั้นช้าลงโดยเฉลี่ย 60% ในเด็กที่ใช้งานเลนส์ MiYOSMART เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ชั้นเดียวโดยทั่วไป2 ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ยังพบได้ในการศึกษาทางคลินิกที่ดำเนินการในสหราชอาณาจักรอีกด้วย3
  • นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาในฮ่องกงยังพบว่าเด็ก 1 ใน 5 คนที่สวมใส่เลนส์ MiYOSMART ไม่มีการลุกลามของภาวะสายตาสั้นเลยในช่วง 2 ปีแรกอีกด้วย2
HOYA MiYOSMART กราฟฟิกพร้อมลูกโลกและแว่นตา

เหมาะสำหรับเด็กส่วนใหญ่

เราได้ดำเนินการศึกษาทางคลินิกหลายโครงการในกลุ่มอายุต่างๆ และหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก2 -5 เลนส์แว่นตา MiYOSMART จึงสามารถควบคุมภาวะสายตาสั้นสำหรับเด็กหลากหลายเชื้อชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ5

อ้างอิงตามทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ 

เทคโนโลยี DIMS ที่ใช้ในเลนส์ MiYOSMART มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างและเป็นที่ประจักษ์6.7

ประโยชน์จากการสวมใส่ในระยะยาว

ผลการศึกษาติดตามผลในระยะเวลา 8 ปีแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการควบคุมภาวะสายตาสั้นจะยังคงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องในเด็กที่สวมใส่เลนส์แว่นตา MiYOSMART นานถึง 6 ปีและ 8 ปีตามลำดับ8,9 ซึ่งบ่งชี้ว่าการสวมใส่เลนส์แว่นตาอย่างต่อเนื่องในระยะยาวมีประโยชน์ในการควบคุมภาวะสายตาสั้นให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น9

 

 

ทนทานต่อการใช้งานได้ดีและไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ในระยะยาว

  • โดยทั่วไปแล้ว เลนส์แว่นตา MiYOSMART ทนทานต่อการใช้งานได้ดีสำหรับเด็ก3,10
  • ซึ่งถือเป็นโซลูชันที่ไม่มีการรุกล้ำร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากการรักษาประเภทอื่นๆ (เช่น อะโทรปีนหรือการใส่คอนแทคเลนส์กดตา) และเด็กมักจะใช้เวลาเพียงไม่กี่วันในการปรับตัวให้เข้ากับเลนส์แว่นตา MiYOSMART คู่ใหม่
  • ผลการศึกษาทางคลินิกระยะเวลา 6 ปีในฮ่องกงแสดงให้เห็นว่าไม่พบผลข้างเคียงระยะยาวจากการสวมใส่เลนส์แว่นตา MiYOSMART
  • ไม่พบข้อกังวลด้านความปลอดภัยในระยะยาวตลอดระยะเวลาติดตามผล 8 ปี9
เด็กสาวกำลังเล่นอยู่ข้างนอกโดยสวมแว่นที่มีเลนส์ HOYA MiYOSMART

มอบความปลอดภัยขณะอยู่นอกบ้าน

เลนส์ MiYOSMART ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้แสงจ้าหรือลดความสามารถในการแยกแยะคอนทราสต์ลง จึงไม่บั่นทอนทัศนวิสัยขณะอยู่นอกบ้าน ไม่ว่าจะใช้งานเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับยาหยอดตาอะโทรปีนความเข้มข้นต่ำ10 ซึ่งหมายความว่า หลังจากระยะเวลาปรับตัว 2 สัปดาห์ บุตรหลานของคุณจะสามารถเดินทางบนท้องถนนได้โดยไร้กังวลเรื่องแสงจ้าจากไฟจราจร หรือสิ่งรบกวนสายตาอื่นๆ

 

ใช้ร่วมกับยาหยอดตาอะโทรปีนได้

เลนส์ MiYOSMART ทำงานร่วมกับยาหยอดตาอะโทรปีนความเข้มข้นต่ำได้เป็นอย่างดี อันที่จริงแล้ว ผลการศึกษาทางคลินิกเมื่อไม่นานนี้จากยุโรป4 และจีน12 พบว่าการรักษาแบบใช้งานเลนส์ MiYOSMART ร่วมกับยาหยอดตาอะโทรปีนความเข้มข้นต่ำมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้งาน MiYOSMART หรืออะโทรปีนเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ ผลการศึกษาในสเปนยังแสดงให้เห็นว่ายาหยอดตาอะโทรปีนอาจช่วยเสริมประสิทธิภาพของเลนส์แว่นตา MiYOSMART ในการชะลอการลุกลามของภาวะสายตาสั้นอีกด้วย13

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตา

เด็กใส่แว่นสายตาสั้นกระโดดเล่นนอกบ้าน

ไม่มีผลกระทบ "ย้อนกลับ"

หากบุตรหลานของคุณหยุดใช้เลนส์ MiYOSMART ภาวะสายตาสั้นจะไม่ "ย้อนกลับ" ไปยังระดับเดิมก่อนการรักษา7 ซึ่งแตกต่างจากการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ที่นิยมใช้ เช่น ยาหยอดตาอะโทรปีนความเข้มข้นสูงหรือการใส่คอนแทคเลนส์กดตา12, 13

เด็กใส่แว่นสายตาสั้นกระโดดเล่นนอกบ้าน

ไม่ส่งผลกระทบต่อไลฟ์สไตล์ของบุตรหลาน

เลนส์แว่นตา MiYOSMART จะช่วยให้บุตรหลานของคุณใช้เวลาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างเต็มที่ ทั้งเลนส์และการรักษาจะไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมโปรดของบุตรหลาน เช่น การเล่นกีฬาเป็นทีมกับเพื่อนๆ16

โดยรวมแล้ว ผู้ปกครองและบุตรหลานไม่จำเป็นต้องกังวลถึงผลกระทบของเลนส์แว่นตา MiYOSMART ที่มีต่อคุณภาพชีวิตด้านการมองเห็น เนื่องจากมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเลนส์แว่นตาชั้นเดียว17

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ

เลนส์ MiYOSMART ไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เพื่อควบคุมภาวะสายตาสั้นในทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา และปัจจุบันยังไม่มีจำหน่ายในทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา

เลนส์แว่นตา MiYOSMART อาจไม่สามารถแก้ไขภาวะทางสายตาของแต่ละบุคคลได้หากเกิดขึ้นจากความบกพร่องตามธรรมชาติ อาการเจ็บป่วย โรคประจำตัวที่มีอยู่ก่อน และ/หรืออายุที่มากขึ้นของลูกค้า ข้อมูลในที่นี้มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาของคุณเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้งานเลนส์แว่นตา MiYOSMART

ข้อมูลอ้างอิง

  • 1. อ้างอิงจากข้อมูลยอดขายเลนส์แว่นตา MiYOSMART ของ HOYA ที่บันทึกไว้ ณ วันที่ 25 เมษายน
  • 2. Lam CSY, Tang WC, Tse DY และคณะ. เลนส์แว่นตา Defocus Incorporated Multiple Segments (DIMS) ช่วยชะลอการลุกลามของภาวะสายตาสั้น: การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มระยะเวลา 2 ปี. Br J Ophthalmol. 2020;104(3):363-8. DOI: 10.1136/bjophthalmol-2018-313739.
  • 3. McCullough S, Barr H, Fulton J และคณะ. การศึกษาเชิงสังเกตข้อมูลจากหลายพื้นที่ระยะเวลา 2 ปีเกี่ยวกับเลนส์แว่นตาควบคุมภาวะสายตาสั้น MiYOSMART ของเด็กในสหราชอาณาจักร: ผลลัพธ์ระยะเวลา 1 ปี (บทคัดย่อ). Invest Ophthalmol Vis Sci. 2023;64(8):4945.
  • 4. Nucci P, Lembo A, Schiavetti I และคณะ. การเปรียบเทียบการควบคุมภาวะสายตาสั้นในเด็กและวัยรุ่นชาวยุโรปด้วยเลนส์แว่นตา Defocus Incorporated Multiple Segments (DIMS), อะโทรปีน และการใช้งาน DIMS/อะโทรปีนร่วมกัน. PLoS One. 2023;18(2):e0281816. DOI: 10.1371/journal.pone.0281816.
  • 5. Saunders K.J. และคณะ.  การศึกษาเชิงสังเกตข้อมูลจากหลายพื้นที่เกี่ยวกับเลนส์แว่นตา Defocus Incorporated Multiple Segments (DIMS) ของเด็กในสหราชอาณาจักร: ผลลัพธ์ระยะเวลา 2 ปี. การนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุม EAOO ปี 2025. https://www.hoyavision.com/visionary-knowlegde/conference-EAOO-2025/ [สืบค้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2025]
  • 6. Troilo D, Smith EL, 3rd, Nickla DL และคณะ. IMI - รายงานแบบจำลองเชิงทดลองของกระบวนการปรับค่าสายตาตามธรรมชาติและภาวะสายตาสั้น. Invest Ophthalmol Vis Sci. 2019;60(3):M31-M88. DOI: 10.1167/iovs.18-25967.
  • 7. Nemeth J, Tapaszto B, Aclimandos WA และคณะ. ข้อมูลล่าสุดและแนวทางในการควบคุมภาวะสายตาสั้น. European Society of Ophthalmology ร่วมกับ International Myopia Institute. Eur J Ophthalmol. 2021;31(3):853-83. DOI: 10.1177/1120672121998960.
  • 8. Lam CSY, Tang WC, Zhang HY และคณะ. ผลกระทบจากการควบคุมภาวะสายตาสั้นในระยะยาวและความปลอดภัยในเด็กที่สวมเลนส์แว่นตาแบบ DIMS เป็นระยะเวลา 6 ปี. Sci Rep. 2023;13(1):5475. DOI: 10.1038/s41598-023-32700-7.
  • 9. Leung และคณะ. การเปรียบเทียบการลุกลามของภาวะสายตาสั้นในกลุ่มบุคคลที่สวมใส่เลนส์แว่นตา Defocus Incorporated Multiple Segments (DIMS) เป็นระยะเวลาแปดปีเทียบกับกลุ่มบุคคลที่สวมใส่ในระยะเวลาที่สั้นกว่า. บทคัดย่อที่นำเสนอในการประชุม ARVO. สามารถดูได้ที่: https://www.hoyavision.com/globalassets/__regional-assets/global/arvo-2025/leung-et-al.-dims-8y-study-arvo-2025-abstract.pdf (สืบค้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2025)
  • 10. Lu Y, Lin Z, Wen L และคณะ. การปรับตัวและการตอบรับของเด็กชาวจีนที่มีต่อเลนส์ Defocus Incorporated Multiple Segment. Am J Ophthalmol. 2020;211:207-16. DOI: 10.1016/j.ajo.2019.12.002.
  • 11. Kaymak H, Mattern AI, Graff B และคณะ. ความปลอดภัยในการใช้งานเลนส์แว่นตา DIMS ร่วมกับอะโทรปีนเพื่อควบคุมการลุกลามของภาวะสายตาสั้น. Klin Monbl Augenheilkd. 2022;239(10):1197-205. DOI: 10.1055/a-1930-7116.
  • 12. Huang Z, Chen XF, He T และคณะ. ผลลัพธ์ที่ส่งเสริมกันจากการใช้งานเลนส์ Defocus Incorporated Multiple Segments และอะโทรปีนในการชะลอการลุกลามของภาวะสายตาสั้น. Sci Rep. 2022;12(1):22311. DOI: 10.1038/s41598-022-25599-z.
  • 13. Guemes-Villahoz N, Talavero González P, Porras-Ángel P และคณะ. การรักษาแบบใช้ยาอะโทรปีนร่วมกับเลนส์แว่นตา (ASPECT): ผลการศึกษาระยะเวลา 12 เดือนของการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมสำหรับการควบคุมภาวะสายตาสั้นด้วยการใช้งานเลนส์ Defocus Incorporated Multiple Segments (DIMS) ร่วมกับอะโทรปีน 0.025%. Br J Ophthalmol. 2025; 9 พ.ค.:doi: 10.1136/bjo-2024-326852 (เผยแพร่ทางอิเล็กทรอนิกส์ก่อนตีพิมพ์).
  • 14. Cho P, Cheung SW. ผลลัพธ์ต่อการยืดตัวของลูกตาที่เกิดขึ้นจากการหยุดใส่คอนแทคเลนส์กดตา (DOEE). Cont Lens Anterior Eye. 2017;40(2):82-7. DOI: 10.1016/j.clae.2016.12.002.
  • 15. Tong L, Huang XL, Koh AL และคณะ. อะโทรปีนสำหรับการรักษาภาวะสายตาสั้นในเด็ก: ผลกระทบต่อการลุกลามของภาวะสายตาสั้นหลังจากการหยุดใช้อะโทรปีน. Ophthalmology. 2009;116(3):572-9. DOI: 10.1016/j.ophtha.2008.10.020.
  • 16. Fatimah M, Agarkar S, Narayanan A. ผลกระทบของเลนส์แว่นตา Defocus Incorporated Multiple Segments (DIMS) ที่มีต่อคุณภาพชีวิตของเด็กในการควบคุมภาวะสายตาสั้น: การศึกษาเชิงคุณภาพ. BMJ Open Ophthalmol. 2 ก.ค. 2024;9(1):e001562. doi: 10.1136/bmjophth-2023-001562. PMID: 38960416; PMCID: PMC11227816.
  • 17. Li X, Ma W, Song Y, Yap M, Liu L. การเปรียบเทียบการลุกลามของภาวะสายตาสั้นและคุณภาพชีวิตของบุคคลที่สวมใส่เลนส์ DIMS หรือแว่นตาแก้ไขภาวะสายตาสั้นแบบเลนส์ชั้นเดียว. J Ophthalmol. 12 ก.พ. 2025;2025:9959251. doi: 10.1155/joph/9959251. PMID: 39974171; PMCID: PMC11839264.